วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตำนานๆ009017:พระอัจฉริยเพียบ

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/Ylj56DQb/The_Royal_Legend_017.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?ufcwi7o6n1ywiu7


ตำนานๆ 009017 : พระอัจฉริยเพียบ       


เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็กลับมาเป็นศูนย์รวมของชาติอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเจ้าปรารถนามานานแล้ว โดยไม่แปดเปื้อนไปกับการเมืองอันแสนจะทุเรศทุรังที่อยู่รายรอบ


และผู้สืบอำนาจคือ ถนอมและประภาส ก็ต้องก้มหัวให้พระองค์เพื่อหาความชอบธรรมของรัฐบาลที่ตนกำกับดูแลอยู่ ช่วงนั้นพวกเจ้ารุ่นชรายังคงกำกับดูแลกิจการของวังในหลวงก็สนพระทัยในงานอดิเรกและแขนงวิชาที่กว้างขวางเป็นแง่มุมใหม่ๆ

ทรงเป็นพ่อที่อบอุ่น ทรงเป็นนักกีฬาผู้เก่งกาจ เป็นอัครศิลปิน นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ ราชาแจ๊ซ สุดยอดนักเศรษฐศาสตร์พัฒนา และจ้าวแห่งการนั่งสมาธิ

โดยได้รับการ โฆษณา ชวนเชื่อและสร้างเป็นตำนานอย่างไม่หยุดหย่อนตลอดพระชนมชีพที่เหลือของพระองค์ เพื่อย้ำเตือนพสกนิกรให้ตระหนักในพระอัจฉริยภาพอันไร้ผู้เทียบเทียมแล้ว ยังเป็นการช่วยระดมทุนสำหรับกิจการของราชสำนักซึ่งมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆภายใต้การจัดการระดับมืออาชีพของวังที่ช่วยสั่งสมความมั่งคั่งของพระราชวงศ์อย่างเงียบๆ


ในหลวงภูมิพลทรงสนพระทัยการกีฬาและการบริหารร่างกายตัวมาตั้งแต่วัยเยาว์ ทรงพายเรือและยกน้ำหนักเป็นประจำในช่วงปี 2490 - 2500 และทรงชอบหาคู่แข่งขันแบดมินตัน และเทนนิสจากทั้งข้าราชบริพาร ทหารและคนอื่นๆ ในแวดวง




รวมถึงพระราชธิดาองค์โปรด ฟ้าหญิงอุบลรัตน์เมื่อเธอเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น พระองค์ไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าคู่แข่งขันของพระองค์แค่ยอมอ่อนข้อให้หรือไม่


คนที่กล้าเอาชนะพระองค์กลายมาเป็นพระสหายที่คบหากันยาวนาน เช่น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ และเป็นพระอนุชาของหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต เป็นผู้ติดตามใกล้ชิดตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระอนุชาในรัชกาลที่ 8 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง

กีฬาที่ในหลวงภูมิพลทรงโปรดปรานมากที่สุด คือการแล่นเรือใบขนาดเล็ก ซึ่งเป็นทั้งการออกกำลังกาย และการวัดกำลังของตนเอง และช่วยให้หลีกห่างจากข้าราชบริพารที่คอยเสนอหน้าตลอดเวลา

พระองค์ดูมีความสุขมากที่สุด เวลาปล่อยพระองค์ปล่อยพระทัยให้ล่องลอยไปตามกระแสลมพัดพา เพลิดเพลินกับควันบุหรี่และการจิบวิสกี้ คู่หูของพระองค์ก็ คือฟ้าหญิงอุบลรัตน์และหม่อมเจ้าภีศเดช ที่ช่วยคัดท้ายเรือโดยไม่มีปัญหาทางพิธีปฏิบัติ

การที่ในหลวงภูมิพลทรงโปรดการแล่นเรือใบได้ก่อให้เกิดกระแสเห่อการแล่นเรือใบขึ้นมาในหมู่ชนชั้นสูง ที่ก็พากันแห่ไปหัวหินในช่วงหน้าร้อน ราชสกุลมหิดลทรงจัดการแข่งเรือใบตลอดทั้งวัน ลงท้ายด้วยงานเลี้ยงพระราชทานรางวัลอย่างสุดเหวี่ยง แต่ยังยากที่จะปั้นให้เป็นพระปรีชาสามารถอีกอันหนึ่งให้ได้ แต่พบว่ามีสามหนทางในการคั้นเอาพระอัจฉริยภาพออกมาให้ได้

อย่างแรกคือ งานอดิเรกของในหลวงในการที่ทรงพระอุตสาหะสูงสุดในการสร้างเรือขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ทรงมีโรงงานขนาดเล็กขึ้นมาในสวนจิตรดาในปี 2507 ทรงต่อเรือแบบเอนเตอร์ไพรส์ แบบโอเค และแบบมอธ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของนักเล่นเรือใบเรือเล็กที่มักต่อเรือเองทั้งนั้น

แต่ทางวังและรัฐบาลก็ทำเหมือนกับว่า มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมหัศจรรย์สุดยอดราวปาฏิหาริย์เลยทีเดียว จนได้รับการเทิดทูนยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งความเพียรวิริยะอุตสาหะ และทรงประสบความสำเร็จ ราวกับว่าทรงสร้างเรือเดินสมุทรขนาดยักษ์ได้ด้วยมือเปล่า และทรงเป็นยอดอัจฉริยะในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยี โดยทรงคิดค้นปรับปรุงประสิทธิภาพของเรือให้ดีขึ้นมาได้

ในวันที่ 19 เมษายน 2509 ทรงแล่นเรือโอเค OK dinghy ตัดผ่านอ่าวไทย เป็นระยะทาง 60 ไมล์ทะเล หรือ 111 ก.ม.จากหัวหินไปยังสัตหีบ ด้วยเวลา 14 ชั่วโมง พระวีรกรรมนี้ได้รับการบรรยายว่าเป็นการแล่นเรือที่จริงจัง โดดเดี่ยวและยากลำบาก


แต่ก็ไม่จริงนักเพราะ ลมเบาบางมากและทะเลก็สงบเงียบ พระองค์ทรงอยู่บนเรือตามลำพัง โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดชและพระองค์เจ้าพีระ แชมป์แข่งรถแล่นเรืออีกลำอยู่ข้างๆ ตามด้วยกองเรือของกองทัพเรือและเอกชน



มีการสลักก้อนหินขนาดใหญ่ที่สัตหีบ เพื่อรำลึกถึงโอกาสนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่นเดียวกับการต่อเรือ มันคือความสำเร็จที่แสนจะธรรมดา และก็ไม่ใช่ความสำเร็จชนิดที่เป็นความสุดยอดหนึ่งเดียวที่จะต้องเป็นข่าวเกรียวกราว ภายหลังเส้นทางหัวหิน-สัตหีบนี้ไม่สามารถจัดการแข่งขันประจำปีได้ เนื่องจากมีโขดหินมากเกินไป



หนทางที่สามที่จะเชิดชูกิจกรรมการแล่นเรือให้เป็นพระปรีชาสามารถให้ได้ก็คือ ชัยชนะในการแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ หรือกีฬาแหลมทองในเดือนธันวาคม 2510 ที่มาของเรื่องก็คือ พล.อ.อ ทวี จุลละทรัพย์ หนึ่งในก๊วนแล่นเรือใบที่หัวหิน และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคของไทย




อธิบายว่า “
เราต้องการให้ในหลวงเป็นเหมือนกษัตริย์โอลาฟที่ 5 (King Olav V) กษัตริย์ขวัญใจประชาชนแห่งนอร์เวย์ที่เป็นเลิศด้านกีฬา ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิคในกีฬาสกีขณะเป็นมกุฏราชกุมาร ” แต่ซีเกมส์หรือกีฬาแหลมทองในตอนนั้นก็มีแต่เพียงพม่า ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เท่านั้นที่ร่วมแข่งขัน งานนี้จึงไม่ได้ใกล้เคียงโอลิมปิคเลยแม้แต่น้อย

ในหลวงภูมิพลกับฟ้าหญิงอุบลรัตน์ทรงแข่งในนามทีมชาติไทย เมื่อแข่งขันกันไปได้ครึ่งทางของการแข่งขันทั้งหมดหกครั้ง ฟ้าหญิงอุบลรัตน์นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยพระราชบิดาของเธอ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันครั้งที่ห้า ฟ้าหญิงวัยรุ่นก็ทรงนำอยู่ไม่มากนัก ในหลวงจะได้เหรียญทองก็ต้องชนะการแข่งครั้งสุดท้ายเท่านั้น แต่ถ้าคู่แข่งขันรายอื่นเข้ามาเป็นที่หนึ่ง บารมีของพระมหากษัตริย์ก็จะเสียหาย



ผลการแข่งขันก็ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด โดยที่พระเจ้าอยู่หัวทรงชนะการแข่งขันครั้งสุดท้ายและฟ้าหญิงอุบลรัตนทรงมาเป็นที่สอง ด้วยคะแนนที่เท่ากัน ในหลวงและฟ้าหญิงอุบลรัตน์จึงทรงครองเหรียญทองร่วมกัน ไม่มีใครรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเก่งถึงระดับโอลิมปิคหรือไม่




แต่สิ่งสำคัญคือ
วันที่พระองค์และฟ้าหญิงอุบลรัตน์รับเหรียญทองจากสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ในวันที่ 16 ธันวาคม 2510 กลายมาเป็นวันกีฬาแห่งชาติ สำหรับคนไทยแล้ว คงไม่มีใครสงสัยเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลของเราก็เก่งไม่แพ้กษัตริย์ของนอร์เวย์ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิค



ในหลวงภูมิพลทรงได้รับการยกย่องเยินยอในด้านศิลปะ ให้เป็นพระอัจฉริยภาพที่เกินจริงอีกเช่นกัน งานอดิเรกแรกๆของพระองค์ คือการถ่ายรูป ส่วนใหญ่แล้วพระองค์จะทรงถ่ายภาพของราชวงศ์ พระสหายและพสกนิกรที่คอยเฝ้าชมพระบารมีระหว่างการเสด็จเยือนของพระองค์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ได้เผยแพร่ถึงสื่อมวลชน และหนังสือรวมทั้งสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ มีการสดุดีชื่นชมอย่างมาก

ภาพถ่ายของในหลวงภูมิพลเหล่านี้ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรเลย แต่ประเทศไทยในสมัยนั้นมีน้อยคนที่จะมีกล้องถ่ายรูปในช่วงปี 2500 ผลงานของพระองค์ก็เลยกลายเป็นตำนานที่ต้องกล่าวขานเลื่องลือไปโดยปริยาย


ในหลวงภูมิพลทรงมุ่งมั่นในศิลปะมากกว่านั้นอีก คือทรงวาดภาพสีน้ำมันด้วย ตั้งแต่ปลายทศวรรรษ 2490 ทรงเริ่มเรียนวาดภาพกับจิตรกรชั้นนำของประเทศและศิลปินต่างชาติบางคนที่แวะเวียนมา ทรงปรับวังของพระองค์ให้เป็นที่พบปะกับศิลปิน เสวยพระกระยาหารค่ำกับจิตรกรที่พระองค์ทรงโปรดปราน

หลังจากนั้นก็จะเป็นการสเก็ตช์ และวาดภาพเคล้าควันบุหรี่ เบียร์และวิสกี้จนถึงดึกดื่นค่อนคืน บางครั้งพวกเขาก็ประชันการวาดภาพกันโดยมีนางในวังมาเป็นนางแบบ อันเป็นแบบฉบับของในหลวงภูมิพลที่มักจะต้องมีการแข่งขันกันพอหอมปากหอมคอ เพื่อความเป็นกันเองและพิสูจน์ฝีมือความเก่งกาจ



ทรงหมดเวลาไปกับการวาดภาพมากในช่วงระหว่างปี 2502 - 2510 โดยทรงมีผลงานเป็นภาพขนาดกลางราว 100 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นภาพสีน้ำมัน หลังจากนั้นพระองค์ก็เลิกวาดรูปบนผ้าใบ








ผลงานของพระองค์ช่วงแรกเป็นภาพบุคคลและทิวทัศน์แนวสมจริงและอิมเพรสชันนิสต์ที่เน้นอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในวังและนำออกแสดงนิทรรศการ ทรงวาดภาพพระราชินีสิริกิติ์ ไว้เป็นจำนวนมาก บางภาพดูเหมือนตัวจริง บางภาพเป็นภาพเปลือยที่ไม่เคยปรากฏต่อสาธารณะ





แม้ว่าจะทรงพอมีทักษะด้านสี และองค์ประกอบภาพบ้าง แต่ก็
ค่อนข้างแบนราบ ขาดรายละเอียด และขาดอารมณ์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการสะท้อนบุคลิกของตัวพระองค์เอง






ในทศวรรษ 2500 พระองค์ทรงทดลองกับรูปทรงและสีสันเกินจริง ของเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ( Expressionism )หรือแนวสะท้อนอารมณ์ / ฉูดฉาด เป็นภาพบุคคลเชิงจิตวิทยา ที่มีรูปทรงและสีสันพิลึกพิลั่น สร้างอารมณ์มืดดำสับสน




จินตนาการถึงความทุรนทุราย หรือด้านมืดในใจของผู้วาด
พระราชินีสิริกิติ์ยังคงงดงามอยู่ แต่มืดหม่น พระพักต์ และพระองค์ดูราวกับหลุดออกมาจากไฟนรก







ภาพเปลือยดูล่อแหลมอันตราย ล้อมรอบไปด้วยสีแดงเพลิงและเหลือง ภาพอื่นอยู่ในโทนเขียวเข้มยั่วยวน







ภาพที่น่าประทับใจมากที่สุดภาพหนึ่งคือภาพไฟป่า Forest Fire ที่ปั่นป่วนด้วยเขียว-ดำ และเปลวคลื่นความร้อนสีแดง ความมืดดำในงานช่วงหลังนี้สะท้อนถึงความเจ็บปวด หรือความทุรนทุรายเบื้องลึก



ซึ่งคง
ไม่ใช่ความครุ่นคิดกังวลเชิงปรัชญา เพราะดูจะไม่ใช่ลักษณะของในหลวงภูมิพลเลย เพราะของพระองค์เป็นแนวปฏิบัตินิยมและระเบียบวิธีนิยมมาแต่ไหนแต่ไร ภาพวาดเหล่านี้ก็สะท้อนโลกที่มืดหม่น เคยมีพระราชดำรัสว่า “ศิลปินทุกคนล้วนมีความรู้สึกกดดัน แล้วศิลปินทุกคนก็ต้องการปลดปล่อย





และยังได้เคยตรัสต่อพระอาคันตุกะหรือแขกของพระองค์ว่า ทรงชอบวาดภาพ
เวลาทรงรู้สึกหดหู่หรือไม่สบายพระทัยและจะทรงวาดได้ดีเวลาได้เสวยน้ำจันฑ์สักเล็กน้อย





แต่การปลดปล่อยที่ดีที่สุดจากการเก็บกด ของในหลวงภูมิพลคือ ดนตรี ทรงใช้เวลากับดนตรีมากเสียจนพระราชินีสิริกิติ์ได้มีพระดำรัสต่อนักข่าวอเมริกันในปี 2503 ว่าในหลวงภูมิพลไม่จำเป็นต้องมีฮาเร็ม เพราะทรงมี “ ดนตรีออเคสตร้าเป็นสนมคนโปรดของพระองค์





ด้วยแรงบันดาลใจจากนายวงดนตรีดังระดับโลก
ในหลวงภูมิพลทรงเริ่มแต่งเพลงตั้งแต่ยังอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ พอถึงปี 2503 ผลงานที่เป็นทางการของพระองค์ หรือเพลงพระราชนิพนธ์มีอยู่ประมาณ 60 เพลง ซึ่งประกอบด้วยเพลงมาร์ชสำหรับกองทัพต่างๆ และบลูส์บรรเลงเปียโน


เพลงทั้งหมดมีท่วงทำนองง่ายๆ หวาน และบางทีก็หงอยเหงา วางอยู่บนคอร์ด / ตัวโน้ตพื้นๆ เนื้อเพลงส่วนใหญ่เขียนโดยหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ, มรว.เสนีย์ ปราโมช และหญิงในวังบางคน เนื่องจากในหลวงภูมิพลขาดทักษะในการเรียบเรียงดนตรี คนอื่นๆ อย่างมรว.เสนีย์จึงเป็นผู้เรียบเรียงดนตรีสำหรับบรรเลงเป็นวงออเคสตร้า ทางวังได้จัดการสนับสนุนให้เพลงเหล่านี้กลายเป็นเพลงประจำของวงดนตรีที่เป็นทางการต่างๆ หลายวง


ในหลวงภูมิพลทรง
พยายามให้นักดนตรีคลาสสิคชาวยุโรปที่มีชื่อเสียงหลายคนทำการเรียบเรียงสำหรับเพลงพระราชนิพนธ์บางเพลง ในการเสด็จเยือนกรุงเวียนนา (Vienna)ออสเตรียในปี 2507 รัฐบาลได้จ้างศาสตราจารย์ชาวออสเตรียนผู้หนึ่งให้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับการแสดงในคอนเสิร์ตฮอลล์ของกรุงเวียนนาระหว่างการเสด็จ

ทรงเพลิดเพลินกับการบรรเลงดนตรียิ่งกว่าตอนตั้งวง อ.ส. อัมพรสถาน เมื่อต้นทศวรรษ 2490 ซึ่งกระจายเสียงสดทางสถานีวิทยุอ.ส. ของในหลวงภูมิพลทุกวันศุกร์ แสดงให้เห็นในหลวงภูมิพลทรงสวมแว่นตาดำ แซ็กโซโฟนคล้องพระศอ ทรงเพลิดเพลินกับการบรรเลงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด

วงที่ใหญ่ขึ้นมาของพระองค์ เรียกว่าวงลายคราม มีนักร้องซึ่งโดยมากเป็นหญิงในวัง วงนี้เล่นคอนเสิร์ตทางวิทยุและแสดงต่อสาธารณะ โดยเฉพาะตามมหา วิทยาลัย ต่อหน้าอาจารย์และ   นักศึกษา
คล้ายพระราช พิธีทื่อๆ เพื่อเทิด พระเกียรติพระมหา กษัตริย์และ พระราชวงศ์ล้วนๆ นักวิชาการ บุคคลสำคัญและแขกผู้มีเกียรติถูกจัดให้นั่งอยู่บนเวทีแทนที่จะอยู่ในหมู่ผู้ชม ตรงกลางเวทีก็จะเป็นในหลวงภูมิพลกับพระราชินีสิริกิติ์ บางทีก็มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมอยู่ด้วย

เบื้องหลังพระองค์จะเป็นวงดนตรีรายการแสดงอาจยาวนานถึงสี่ชั่วโมง โดยในหลวงภูมิพลทรงทำการแนะนำแต่ละเพลงผสมกับเรื่องอื่นๆ อย่างยืดยาว



ในช่วงการขอเพลง นักศึกษาก็จะคลานเข่ามากราบถวายบังคมราชาแห่งแจ๊ซ ทูลเกล้าฝ่าละอองธุลีพระบาทขอเพลง ไม่ใช่การแสดงสดแบบที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือและลูกเล่นแพรวพราว หรือลึกล้ำดื่มด่ำ แต่ก็ยังหลอมรวมพระเจ้าอยู่หัวและพสกนิกรรุ่นเยาว์เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยสิ่งที่เรียกว่า การเสด็จทรงดนตรี

เมื่อในหลวงภูมิพลทรงพบนักดนตรีที่มีฝีมือมากขึ้น การทรงร่วมวง อ.ส.ในวังก็มีบ่อยครั้งขึ้น บางทีมีถึงสัปดาห์ละสี่ครัง นักดนตรีบรรเลงออกอากาศ ทานอาหารค่ำ จากนั้นบรรเลงเป็นการส่วนพระองค์ไปจนถึงดึกดื่น หรือถึงรุ่งเช้า วงดนตรีบรรเลงเพลงมาตรฐาน ที่ไม่ต้องอาศัยการฝึกฝน และความสามารถทางเทคนิคมากนัก ทำให้ทรงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของพระองค์เองออกมาได้อย่างเต็มที่ ทรงเล่นสลับไปมาระหว่างแคลริเน็ตกับแซ็กโซโฟน

ในฐานะที่ทรงเป็นราชาแห่งแจ๊ซ จึงทรงได้รับการทูลเชิญให้ทรงร่วมบรรเลงเสมอเวลาพระองค์เสด็จต่างประเทศ ทรงเล่นตามงานเลี้ยงในสถานทูต และนักดนตรีที่มาเยือนไทยก็หนีไม่พ้นที่จะถูกเรียกให้ไปร่วมวงกับพระองค์ในวัง ความดื่มด่ำในดนตรีแจ๊ซของพระองค์มีมากจนกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการเข้าวัง

ปลายปี 2499 รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เป็นผู้สนับสนุนการออกทัวร์ทั่วโลกของนักดนตรีอเมริกัน ก็นำเบ็นนี กูดแมน (Benny Goodman) และวงของเขามาเยือนไทยในช่วงงานออกร้านวันรัฐธรรมนูญร่วมบรรเลงกับในหลวงภูมิพลในวัง โดยมีพระราชินีสิริกิติ์ทรงร่ายรำตามไปด้วย

ในปี 2501 รัฐบาลสหรัฐฯ นำวงแจ๊ซของแจ๊คทีการ์เด้น Jack Teagarden มากรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2500 เลสบราวน์ Les Brown ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ เช่นกัน ก็เรียบเรียง “ HM Blues ” ของในหลวงภูมิพลเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ


ทรงพยายามที่จะทำให้พระโอรสมีความสนใจในแจ๊ซอย่างพระองค์ แต่ไม่ค่อยได้ผลแต่ประการใด
ทรงจัดหาทั้งเครื่องดนตรีและครูผู้สอนให้ และทรงนำพระโอรสพระธิดาขึ้นเวทีกับวงลายครามด้วย จากภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ในวัยเด็กกำลังดิ้นรนกับแซ็กโซโฟนตัวใหญู่




ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงร้องเพลงอย่างหนีบๆ เสียงเบื้องหน้านักศึกษานับพัน แต่ไม่มีใครมีแววเลย





ประชาชนไทยก็ไม่ได้สนใจจริงๆ ในดนตรีของพระองค์เลย ซึ่งก็เหมือนคนประเทศอื่นๆ ทั่วโลกในทศวรรษ 2500 คือ คนไทยสนใจเอลวิสเพรสลีย์กับสี่เต่าทองมากกว่า ในหลวงภูมิพลทรงดูถูกเหยียดหยามสี่เต่าทอง โดยทรงบอกกับผู้สัมภาษณ์ในปี 2510 ว่า “ พวกเขาหมดน้ำยาแล้วรู้มั้ย พวกเขาจริงๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกของอังกฤษ

ดนตรีช่างมีความสำคัญในชีวิตของพระองค์เสียเหลือเกิน แล้วในหลวงภูมิพลทรงเก่งจริงๆอย่างที่ร่ำลือกันอย่างเป็นทางการหรือเปล่า

ความสามารถทางการประพันธ์ของพระองค์มีจำกัดมาก ท่วงทำนองเพลงง่ายๆ ของพระองค์น่าฟังและติดหูค่อนข้างง่าย และพระองค์ก็ทรงสามารถทำเพลงให้ฟังดูรู้ว่าเป็นสไตล์อะไรได้

แต่การไร้ความสามารถในการเรียบเรียงเสียงประสาน หรือสอดแทรกจังหวะจะโคนที่น่าสนใจ ทำให้เพลงของพระองค์แบนราบ อาศัยการเรียบเรียงสักเล็กน้อยก็น่าจะพอใช้ได้ แต่ทั้งหมดไม่มีเพลงไหนที่น่าจดจำเป็นพิเศษ แต่ว่ามันได้รับการบรรเลงมาอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย

มีการเปิดกรอกหูกันตลอดเป็นประจำทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ ในห้างสรรพสินค้า ตามโรงภาพยนตร์ และคอนเสิร์ตต่างๆ จนถึงทุกวันนี้ จนพสกนิกรหลับตาฮัมหรือผิวปากได้เพราะได้ฟังบ่อยจนคุ้นหู โดยไม่ต้องรู้ด้วยซ้ำว่าคนแต่งคือใคร


การประเมินทักษะการทรงดนตรีของพระองค์นั้นทำได้ยาก เนื่องจากคลิ้ปบันทึกเสียงการบรรเลงของพระองค์จริงๆ แทบไม่มีเลย ที่น่าแปลกคือพระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับการโฆษณาสนับสนุนมากมายขนาดนี้กลับไม่มีการบันทึกเสียงดนตรีที่ทรงแสดงจริงเพื่ออวดพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระองค์ให้สาธารณชนได้ชื่นชมกันเลย

จากความเห็นของบางส่วนที่เคยได้ฟังพระองค์ทรงดนตรี และจากการแสดงที่ได้รับการบันทึกภาพยนตร์ไว้ครั้งหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครได้เห็นได้ฟังกันนัก เพราะต้องไปค้นหาจากหอสมุดแห่งชาติ กลับสะท้อนจุดอ่อนของการศึกษาดนตรีมาอย่างจำกัด แม้ว่าจะทรงเป่าแคลริเน็ตกับแซ็กโซโฟนได้ไม่เลว และรองลงมาเป็นทรัมเป็ต กีตาร์ เปียโน และออร์แกน




แต่ในหลวงภูมิพลก็ไม่เคยได้มีการฝึกฝนอย่างจริงจัง หรือมีประสบการณ์การเล่นในฐานะนักดนตรีคนหนึ่งที่มีนายวงคอยเข้มงวดกวดขันให้มีความสามารถจริงๆ
และต้องฝึกฝนบทเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนช่ำชองสมบูรณ์แบบ



ด้วยการเป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ ในหลวงภูมิพลทรงพัฒนาเป็นศิลปินเดี่ยวๆแบบข้ามาคนเดียว คือไม่เคยได้ฝึกฝนกับวงจริงๆที่มีนายวงคอยควบคุมอย่างเข้มงวดจริงจัง เหมือนกับทรงบรรเลงไปกับดนตรีจากแผ่นบันทึกเสียงเป็นหลัก หรือเอาแผ่นเสียงเป็นครู คือทรงเล่นแบบพื้นๆเดิมๆ ไม่มีลูกเล่น

ในการแสดงครั้งหนึ่งของวง อ.ส.ที่ได้รับการบันทึกเป็นภาพยนตร์ในปี 2507 ได้เผยชัดว่าในหลวงภูมิพลที่ทรงเป่าบาริโทนและอัลโตแซ็กโซโฟน ทรงเป็นผู้ที่ด้อยที่สุดในวง ทรงเป่าชัดถ้อยชัดคำและไม่ผิดโน้ต

แต่การโซโลหรือบรรเลงเดี่ยวของพระองค์นั้นเป็นไปอย่างเรื่อยเปื่อย ทื่อๆ ไม่มีหัวมีหาง ไม่เป็นวลี ไม่มีการเล่นกับจังหวะ กระชับกระชั้นทอดสั้นทอดยาว ราวกับว่าแทบไม่ได้ฟังที่ตัวเองเล่นเลย คือแค่ทรงเล่นตามโน้ตเท่านั้น พอทรงเปลี่ยนไปเล่นแคลริเน็ต และก็ยังคงเป็นผู้เล่นที่ด้อยที่สุดในวงอยู่นั่นเอง ขนาดมือแซ็กและแคลริเน็ตอีกคนหนึ่งในวง ที่พยายามเล่นอย่างออมมือที่สุดแล้ว ก็ยังเหนือกว่าในหลวงของเราอย่างเห็นได้ชัด

เหตุผลที่ต้องวิจารณ์ ก็แค่ต้องการบอกถึงช่องว่างมหาศาลระหว่างความเป็นจริงกับภาพลักษณ์ของในหลวงภูมิพลที่วังโฆษณาสนับสนุนอย่างหนักให้เป็นตำนานแจ๊ซ



แต่ไม่ว่าทักษะของพระองค์จะเป็นอย่างไร ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระองค์ทรงลุ่มหลงในดนตรีแจ๊ซมากจริงๆ และไม่ได้ลดน้อยลงแม้กระทั่งทุกวันนี้ ทรงเป็นนักสะสมแผ่นเสียงตัวยง และตลอดทศวรรษ 2530 วง อ.ส. ก็ยังมีการรวมตัวบรรเลงเวลาพระองค์ทรงโปรด ไม่ว่าจะในเวลาหัวค่ำไปจนถึงเช้ามืด เป็นการหลบเลี่ยงที่ดีที่สุดของพระองค์จากพระราชภารกิจ ตลอดจนข้าราชบริพาร และภาระอันหนักอึ้งของจักรวาลไทย

ทรงมีงานอดิเรกช่วงแรกๆ อีกสองอย่าง อย่างแรกคือ ความสนพระทัยในเรื่องวิทยุรับส่ง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อประทับอยู่กรุงเทพฯ นอกจากสถานีวิทยุเชิงพาณิชย์ของวังแล้ว ในหลวงภูมิพลได้รับอุปกรณ์คลื่นสั้นและคลื่นยาวที่ทันสมัยที่สุด เพื่อฟังวิทยุตำรวจและทหาร และคลื่นต่างประเทศ

ในทศวรรษ 2500 ในห้องทรงงานส่วนพระองค์มีวิทยุแบบนี้เต็มไปหมด เป็นเครื่องมือในการทรงงาน ในการสดับตรับฟังโลก ว่าเกิดอะไรขึ้น ใครคิดอย่างไร



งานอดิเรกอย่างที่สองคือ
การยิงปืน ทรงซ้อมยิงปืนพกกับไรเฟิลเป็นประจำที่ค่ายฝึก ตชด. ที่หัวหิน




ทรงเรียนรู้การใช้งานอาวุธทันสมัยต่างๆ ของปลายทศวรรษ 2500





การยิงปืนเป็นกิจกรรมเดียวที่พระองค์สามารถถ่ายทอดต่อไปยังฟ้าชายวชิราลงกรณ์ได้โดยประสบความสำเร็จมากกว่าดนตรีแจ๊ซ ทั้งๆที่ทรงมีพระเนตรเหลืออยู่ข้างเดียว ทรงมีทักษะการใช้อาวุธปืนขนาดเล็กดีพอสมควร


พระองค์ยังคงขะมักเขม้นในการทรงงานรับใช้ปวงชนชาวไทยอยู่เสมอในฐานะพระมหากษัตริย์ และตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา ทรงให้ความสนพระทัยกับงานสังคมสงเคราะห์และโครงการพัฒนาชนบทต่างๆ ในพระบรมราชูปถัมถ์ โครงการส่วนพระองค์เหล่านี้ได้ขยายใหญ่เติบโตกลายเป็นภาพลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

การใช้จ่ายของราชวงศ์ในเรื่องการกุศลและการบรรเทาภัยพิบัติในทศวรรษ 2490 แม้จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่นับว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการใช้งบประมาณในเรื่องเดียวกันของรัฐบาล

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลและพระราชินีสิริกิติ์ทรงแจกจ่ายอาหาร ยาและสิ่งของต่างๆแก่ประชาชนในชนบท เช่น มุ้งเพื่อป้องกันไข้มาลาเลียและผ้าห่มบรรเทาความหนาวเย็น เวลาประชาชนสูญเสียบ้านที่อยู่อาศัยจากอัคคีภัย ทั้งสองพระองค์ทรงบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นและสนับสนุนการสร้างบ้านใหม่ แต่การโฆษณาอย่างหนักของวังในช่วงทศวรรษ 2500 กับการทำงานของระบบการร่วมเสด็จพระราชกุศลได้ช่วยขยายงานเหล่านี้

ยิ่งประชาชนเห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบเงินช่วยเหลือสังคมมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งเต็มใจจะบริจาคให้พระองค์มากขึ้นเท่านั้น เพื่อจะได้มีส่วนร่วมเสด็จพระราชกุศล เพื่อมหากุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่ของพระองค์
งานการกุศลของวังขยายมากขึ้น เมื่อเกิดอหิวาห์ระบาดในปี 2501 - 2502 ทรงรวบรวมเงินได้ 884,000 บาท สำหรับช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบภายในเวลาไม่กี่วัน

เดือนตุลาคม 2505 เกิดพายุแฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิต 870 คน พระองค์ทรงระดมเงินบริจาคได้ 10.8 ล้านบาท เมื่อตัวเลขเพิ่มมากขึ้น วังก็จัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมาจัดการดูแลการระดมทุนและการแจกจ่ายโดยเฉพาะ

เงินที่เหลือจากการระดมทุนปี 2505 กลายเป็นเงินตั้งต้น สำหรับมูลนิธิ ราชประชา นุเคราะห์ที่ทำหน้าที่บรรเทาทุกข์จากสาธารณภัย

ยังได้ทรงก่อตั้งกองทุนการศึกษา ในพระนามพระเชษฐา คือมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อส่งนักเรียนไทยที่ปราดเปรื่องไปเรียนเมืองนอก
การระดมทุนของหน่วยงานเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยสาธารณชนกระตือรือล้นที่จะมีส่วนร่วมในการเสด็จพระราชกุศลของพระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิราชประชานุเคราะห์สั่งสมทรัพย์สินจนถึงระดับหลายร้อยล้านบาท ทุนอานันทมหิดลก็กลายมาเป็นทุนการศึกษาที่ถือว่าสุดยอดของประเทศ เงินหลั่งไหลเข้ามาจากทั้งจากบุคคลและบริษัทห้างร้านที่มอบทุนการศึกษาให้มูลนิธิอานันทมหิดลดูแล ผู้รับทุนจะได้เข้าเฝ้าในหลวงภูมิพล เป็นการสร้างพันธะและความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ในหมู่ปัญญาชนระดับมันสมองของประเทศ

แต่ในหลวงภูมิพลก็ยังทรงต้องการพัฒนาราชอาณาจักรของพระองค์ ทรงแสดงความพยายามในการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาประเทศ ซึ่งเรียกว่าโครงการหลวง ที่กลายมาเป็นแก่นกลางพระเกียรติคุณของพระองค์และเป็นภาพลักษณ์ที่ทรงต้องพระประสงค์มากที่สุดสำหรับรัชสมัยของพระองค์ โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำ ในปี 2494



ถึงกับมีการโฆษณาว่า
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงประสูติมาพร้อมด้วยทักษะในเรื่องน้ำ เป็นชะตาที่ลิขิตไว้แล้วที่จะทรงพัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนสำหรับพสกนิกรของพระองค์ ไม่ต่างจากเทพเจ้าของฮินดูที่เป็นต้นกำเนิดของชีวิตและความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน





อันที่จริง ในหลวงภูมิพลไม่ได้ทรงทำอะไรมากนักในช่วงแรก สิ่งแรกที่พระองค์ทรงเกี่ยวข้องด้วย คือการเลี้ยงปลา ต้นทศวรรษ 2490 องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) กำลังรณรงค์การเลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วโลก โดยเน้นปลานิลที่เลี้ยงง่าย เมื่อในหลวงภูมิพลเสด็จกลับจากสวิตเซอร์แลนด์นั้น เกษตรกรไทยนับร้อยๆ รายก็มีการเลี้ยงปลานิลกันแล้ว

ในเดือนพฤษภาคม 2496 FAO กับข้าราชการกรมประมงก็ถวายลูกปลา 2,800 ตัวแด่พระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงนำไปเลี้ยงในสระในวังที่หัวหิน สองสามเดือนหลังจากนั้น ในวาระวันพระราชสมภพครบรอบหนึ่งปีของฟ้าชาย วชิราลงกรณ์ เจ้าหน้าที่กรมประมงทำการแจกจ่ายปลานิล 65,000 ตัว แก่เกษตรกรหัวหินและที่อื่นๆ หลายปีต่อมา ในหลวงภูมิพลจึงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นผู้ริเริ่มนำปลานิลมาให้ชาวไทย

ในหลวงภูมิพลยังมีความสนพระทัยในการทำฝนเทียมในช่วงทศวรรษ 2490 โดยการคะยั้นคะยอจากเพื่อนที่อยู่กระทรวงเกษตรคือ มรว.เทพฤทธิ์ เทวกุล สมาชิกวงในของวัง กระทรวงเกษตรแบ่งงบประมาณสำหรับการวิจัยทำฝนเทียมมาให้ไม่มากนัก

มรว.เทพฤทธิ์ได้งบสนับสนุนส่วนพระองค์เพิ่มเติมจากในหลวงภูมิพล แต่แทบไม่ปรากฏผลงานใดออกมาเลยจนกระทั่งต้นทศวรรษ 2500 เมื่อสหรัฐฯ มอบเงินสนับสนุนการทดลองฝนเทียมให้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลสหรัฐฯ มีความสงสัยถึงประโยชน์ที่จะได้รับ การทำให้เมฆจับตัวเป็นศาสตร์ใหม่และมีราคาแพง ผลลัพธ์ไม่แน่นอน

แต่เป็นเพราะความกระตือรือร้นของในหลวงภูมิพล รัฐบาลสหรัฐฯให้เงินสนับสนุน เนื่องจากเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาของในหลวงภูมิพล จึงมีประโยชน์ในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

ต้นทศวรรษ 2500 ในหลวงภูมิพลทรงตอบรับสนับสนุนแนวความคิดยอดนิยมแห่งยุคสมัยในเวลานั้นสองแนวคิดคือ การปฏิวัติเขียวที่จะเพิ่มผลผลิตอาหาร ด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์พืช และความเชื่อว่าการดื่มนมวัวช่วยให้เด็กเติบโต มีสุขภาพสมบูรณ์จึงทรงร่วมกับ มรว.เทพฤทธิ์ทำแปลงข้าวทดลองในสวนจิตรดา ซึ่งมันซ้ำซ้อนกับการวิจัยข้าวของราชการที่ดำเนินมาหลายสิบปีแล้ว

โครงการส่วนพระองค์ที่สองมีจุดกำเนิดมาจากการเยือนของเจ้าหน้าที่ชาวเดนมาร์กในปี 2503 และการเสด็จเยือนเดนมาร์กภายหลังในปีนั้น เดนมาร์กกำลังแสวงหาการร่วมทุนขนาดใหญ่กับกระทรวงเกษตรในอุตสาหกรรมผลิตนม

ซึ่งในที่สุดกลายมาเป็น ฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์กที่กึ่งผูกขาด เดนมาร์กแสวงหาการสนับสนุนจากในหลวงภูมิพล ด้วยรู้ว่าทรงเติบโตมาด้วยการดื่มนมซึ่งไม่เหมือนคนไทยส่วนใหญ่ ด้วยการตั้งฟาร์มโคนมขนาดเล็กในสวนจิตร โดยมีแม่วัวห้าตัวและพ่อวัวหนึ่งตัว ซึ่งกลายมาเป็นโครงการนมสวนจิตร ป้อนนมให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนสวนจิตรดา

โครงการที่สามในยุคแรกที่สวนจิตร ทรงปลูกกล้ายาง 1,250 ต้น แม้ว่ากรมป่าไม้ได้ทำการแจกจ่ายพันธุ์ยางนี้อยู่ก่อนแล้ว โครงการนี้ก็ยังทำให้ในหลวงภูมิพลทรงเป็นผู้บุกเบิกการอนุรักษ์ป่า

ในหลวงภูมิพลมีความสนพระทัยปัญหาเรื่องน้ำภายหลังโครงการเขื่อนอเนกประสงค์ยันฮี กั้นลำน้ำปิง มูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่อำเภอสามงาว จังหวัดตาก สร้างในปลายทศวรรษ 2490 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเขื่อนภูมิพล ที่จริงแล้วในหลวงภูมิพลแทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเขื่อนแห่งนี้เลยนอกจากให้ยืมใช้พระนามเท่านั้น

หลังจากนั้น โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ล้วนถูกตั้งชื่อตามพระราชวงศ์ในราชสกุลมหิดล ได้แก่

เขื่อนสิริกิติ์ สร้างกั้นแม่น้ำน่าน ที่ผาซ่อม จังหวัดอุตรดิตถ์ เหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบสุริยันจันทรา



เขื่อนศรีนครินทร์ กั้นแม่น้ำแควใหญ่ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีความจุน้ำสูงที่สุดถึง 17,745  ล้าน ลบ. เมตร


เขื่อนอุบลรัตน์ กั้นแม่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
สร้างเสร็จปี 2509 เดิมเรียกเขื่อนพองหนีบ เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




เขื่อนวชิราลงกรณ์ กั้นแม่น้ำแควน้อยที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สร้างเสร็จเมื่อ 2527 เดิมชื่อเขื่อนเขาแหลม


เขื่อนสิรินธร กั้น แม่น้ำ ลำโดมน้อย สาขาของแม่น้ำมูล ที่ตำบลช่องเม็ก อำเภอ พิบูล มังสา หาร จังหวัด อุบล ราชธานี


เขื่อนจุฬาภรณ์ กั้นลำน้ำพรม บนเทือกเขาขุนพาย อำเภอคอนสาร ชัยภูมิ



งานที่เกี่ยวกับปัญหาน้ำงานแรกจริงๆ ของในหลวงภูมิพลมาจากการเสด็จเยือนหมู่บ้านต่างๆ รอบๆ หัวหิน ทรงพบเห็นการต่อสู้ดิ้นรนกับสภาพพื้นที่และดินฟ้าอากาศของเกษตรกร พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะภาคอีสานกับภาคใต้ตอนบนซึ่งรวมหัวหินอยู่ด้วย จะมีช่วงแล้งอยู่นานถึงครึ่งปี บางพื้นที่ของภาคอีสานถึงกับขาดฝนเป็นปีๆ

นอกจากบริเวณที่ราบภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์แล้ว สภาพดินส่วนใหญ่แห้งแตกระแหง เห็นได้ที่หุบกะพงจังหวัดเพชรบุรี ห่างจากวังไกลกังวลเพียงยี่สิบกิโลเมตร สภาพดินเลวและขาดแคลนน้ำ ผลผลิตต่ำ ชาวบ้านต้องเก็บของป่าหาเลี้ยงชีพ

ในปี 2506 ในหลวงภูมิพลทรงให้ ตชด.ทำถนนเข้าไปยังหุบกะพง กลายเป็นนิคม สร้างต นเอง หุบ กระพงในพระบรม ราชูปถัมถ์ หรือศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง และสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก

ซึ่งไม่ใช่แนวคิดใหม่ก้าวล้ำแต่อย่างใด ด้วยการสนับสนุนจากสห ประชา ชาติ รัฐบาล จอมพลป. และ จอมพล สฤษดิ์ได้สร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาดเล็กนับร้อยๆแห่งทั่วประเทศ แต่ยังมีหมู่บ้านนับพันๆ แห่งที่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล


อีกความพยายามหนึ่งในช่วงแรกๆ คือความสนพระทัยที่ในหลวงภูมิพลและสมเด็จพระราชชนนีทรงมีต่อชาวเขา ซึ่งมีอยู่ราว 200,000 คน ทั้งอาข่า, ม้ง, กะเหรี่ยง, ชาน, และชนเผ่าอื่นๆ กระจัดกระจายไปบนเทือกเขาใกล้พรมแดนทางภาคเหนือและภาคตะวันตก ที่ยากจน มีวัฒนธรรมประเพณีเฉพาะของตนเอง เข้าไม่ถึงการศึกษา สาธารณสุขและบริการอื่นๆของรัฐ มีจำนวนมากที่ปลูกฝิ่นเพื่อขายให้คนไทยพื้นราบ

ในทศวรรษ 2490 ตชด.ตั้งฐานปฏิบัติการตามหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เพื่อดูแลความมั่นคงบริเวณชายแดน และในบางทีก็สร้างโรงเรียนประถม เพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ ที่เชื่อกันว่ามุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากในต้นทศวรรษ 2500 เมื่อสหรัฐฯชี้ว่าชาวเขาเป็นแหล่งข่าวและกำลังสำคัญในการต่อต้านคอมมิวนิสต์

ในช่วงนั้น พระราชวงศ์ก็ทรงเสด็จประทับแรมที่เชียงใหม่อยู่เป็นประจำ โดยกองทัพสร้างวังขึ้นมาใหม่เรียกว่า พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ บนดอยสุเทพ ในปี 2506 ทั้งสองพระองค์ทรงสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งด้วยเงินบริจาคจากประชาชน

ในปี 2507 พระราชชนนีศรีสังวาลย์ที่ยังคงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โลซานน์ ก็เริ่มมาประทับที่เชียงใหม่ในฤดูหนาว และทรงเริ่มทำงานให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเขาในแถบนั้น พระราชชนนีทรงสนับสนุนการสร้างโรงเรียนและสถานีอนามัยแห่งใหม่ตามหมู่บ้านชาวเขาโดยใช้กำลังของ ตชด.และงบประมาณจากรัฐบาลและเงินบริจาค ในที่สุดพระชนนีศรีสังวาลย์ก็ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ทั้ง ตชด.และชาวเขา ในฐานะเครือข่ายของพระเจ้าอยู่หัว

ทรัพย์สินที่พระราชวงศ์ได้ใช้ไปในงานพัฒนาและการสงเคราะห์นั้น ถือว่าเล็กน้อยนักเมื่อเทียบกับงบประมาณที่รัฐบาลได้ใช้ไป หรือเมื่อเทียบกับงบสวัสดิการสังคมจากสหรัฐฯที่ใช้ในไทย แต่ด้วยการประโคมโหมโฆษณาให้กับพระราชกรณียกิจอย่างเต็มที่ ทำให้ประชาชนที่ประสบความทุกข์ยากต่างพากันฝากความหวังไว้ที่พระเจ้าอยู่หัวและมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เหมือนอย่างที่เคยเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เวลารัฐบาลเป็นผู้ออกเงินให้กับวัง วังได้บารมีไป ผลที่เกิด คือความผูกพันลึกซึ้งระหว่างพระเจ้าอยู่หัวและไพร่ฟ้าพสกนิกรของพระองค์ ชนิดที่รัฐบาลและนักการเมืองไม่มีทางที่จะเลียนแบบได้เลย



การพัฒนา
พระบุญญาบารมีหรือพระโพธิญาณภายในของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ได้รับการชี้แนะจากพระที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการทรงผนวชของพระองค์ในปี 2499 นั่นคือ พระสาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระญาณสังวรณ์)







ด้วยความ
สัมพันธ์ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระญาณสังวรณ์จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศในปี 2504 อันเป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ด้วยพรรษาที่ยังไม่มากนัก




พระองค์ทรงสนทนาธรรมกับสมเด็จพระญาณสังวรณ์เป็นประจำ โดยท่านได้สอนธรรมแก่พระองค์ในเชิงปรัชญาถึงความหมายของธรรมและการปฏิบัติ ชีวิตและศีลธรรม คงเป็นแรงบันดาลใจให้ทรงมีพระนิสัยชอบถกประเด็นลึกซึ้งด้วยถ้อยคำที่คลุมเครือ เหมือนเกจิอาจารย์ที่พยายามให้ผู้ฟังได้เข้าถึงสัจจธรรมโดยไม่ต้องพูดออกมาตรงๆ เพื่ออวดว่าตนได้บรรลุธรรมแล้ว คล้ายพวกที่ชอบไขปริศนาธรรม

ภายหลังสมเด็จพระญาณสังวรณ์ทรงสอนในหลวงภูมิพลในเรื่องวิปัสนากรรมฐาน อันเป็นหนทางสู่การรู้แจ้ง ที่ไม่จำเป็นต้องละทิ้งทางโลกีย ไม่ต้องแยกตัวไปบวชเป็นฤๅษี ซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงเต็มไปด้วยพระราชกรณียกิจและไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก โดยที่ในหลวงภูมิพลทรงรุดหน้าไปในทางธรรมมากโดยที่ยังทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ
กล่าวกันว่าทรงมีความรุดหน้าอย่างรวดเร็ว อันเป็นธรรมดาของมหาธรรมราชาผู้ยิ่งใหญ่ ชนชั้นนำของไทยต่างรับรู้ว่า ทั้งสมเด็จพระญาณสังวรณ์และพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลต่างทรงเข้าถึงธรรมอย่างลึกซึ้ง
และพวกพระราชวงศ์ก็พากันไปหาเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ เพื่อเรียนวิปัสสนา เป็นการสร้างความนิยมในทางศาสนาแนวใหม่เพื่อความเป็นผู้รู้แจ้งหรือสำเร็จฌานสมาบัติ อีกแบบหนึ่ง ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในหลวงภูมิพลทรงพยายามผูกโยงพระองค์เองเข้ากับพระเครื่องบูชา พระสงฆ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดทางพุทธศาสนาของประเทศ


โดยเสด็จเยือนวัดที่ไม่ใช่อารามหลวง แต่มีเกจิสำคัญ คือมีหลวงพ่อดังๆ และโดดเด่นในการเทศนาสั่งสอนธรรมหรือเป็นที่กล่าวขวัญกัน ว่ามีพลังอำนาจวิเศษ

ทำให้ประชาชนรู้สึกประทับใจที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ทรงรับรู้ถึงบรรดาพระเกจิดังๆเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันก็เฉพาะในละแวกใกล้วัดหรือในหมู่คอธัมมะธัมโมเท่านั้น เท่ากับแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้หยั่งรู้ของพระองค์ ในขณะเดียวกันก็ดูจะเป็นการยืนยันถึงความวิเศษของพระเหล่านั้นไปด้วยในตัว อันเป็นการช่วยหนุนเสริมบุญบารมีซึ่งกันและกัน

บางคนเชื่อว่าในหลวงภูมิพลมีญาณวิเศษทรงรู้ว่าพระสงฆ์องค์ใดสำเร็จเป็นอรหันต์ คือ ถ้าในหลวงทรงไหว้พระรูปใดก็แสดงว่าพระรูปนั้นท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว



เรื่องนี้น่าจะเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมือง เพื่อเอาชนะฝ่ายมหานิกายที่มีพระพิมลธรรมเป็นผู้นำสำนักวิปัสนาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ที่มีพระพม่ามาช่วยสอนวิปัสนา





โดยที่ฝ่ายธรรมยุติของวังไม่มีชื่อเสียงในเรื่องวิปัสสนา จึงต้องอาศัยการเชื่อมสัมพันธ์กับเกจิดังๆ ในชนบทหรือวัดป่าโดยให้สมเด็จญาณสังวรณ์ตั้งศูนย์วิปัสสนาที่วัดบวรนิเวศ ร่วมกับพระราชวงศ์เพื่อยกระดับสงฆ์ฝ่ายเจ้าหรือธรรมยุติให้ดูสูงส่งกว่าพวกพระมหานิกายเถรวาทซึ่งเป็นพระส่วนใหญ่ของประเทศ

สมเด็จพระญาณสังวรณ์ทรงนำในหลวงภูมิพลบำเพ็ญธรรมไปไกลเกินกว่าเถรวาทที่เป็นนิกายหลักของไทย จนถึงฌานสมาธิขั้นสูงอันลี้ลับหลุดโลก สมาธิเป็นหนทางการพิชิตจิตใจของตนเอง กล่าวกันว่าบางครั้งนำให้ผู้ปฏิบัติประสบภาวะเหนือธรรมชาติที่เรียกว่าได้ฌานสมาบัติ กึ่งๆจะสำเร็จเป็นผู้วิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์


มีแต่พระเกจิชั้นสูงสุดเท่านั้น ที่สามารถเข้าใจและบรรลุฌานสมาบัติได้ แต่สมเด็จพระญาณสังวรณ์ในทศวรรษ 2500 ท่านไม่สามารถชี้แนะในหลวงภูมิพลได้ จึงต้องเชื้อเชิญพระสานุศิษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดสามรูปของอาจารย์มั่นภูริทัตโต (บ้านหนองผือ สกลนคร)เข้ามายังกรุงเทพฯ ในหลวงภูมิพลทรงสร้างที่พักพิเศษภายในวังสวนจิตรสำหรับพระทั้งสามรูป และทรงศึกษาและฝึกสมาธิกับพระเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ


พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเป็นพระป่าภาคอีสานในตำนานที่ได้ชื่อว่ามีภูมิธรรมอันลึกซึ้ง และมีเทคนิคการนั่งสมาธิและวิปัสนาอันลึกล้ำ หลังมรณภาพในปี 2492 เหล่าสานุศิษย์ยกย่องให้ท่านเป็นพระอรหันต์ (ซึ่งมีแต่พระพุทธองค์เท่านั้นที่ตรัสรู้หรือหยั่งรู้ได้ว่าใครมีคุณธรรมขั้นใด ไม่ใช่ไปอุปโลกน์ตั้งกันเองและทางวินัยห้ามโอ้อวดโดยเด็ดขาดเพราะเป็นเรื่องที่ไร้สาระไม่มีประโยชน์)



โดยเฉพาะกับพระรูปโปรดคือ อาจารย์
ฝั้น อาจาโร




พระราชวงศ์ได้เสด็จไปเยือนวัดป่าสุทธาวาสที่อาจารย์มั่นมรณภาพที่สกลนคร และในหลวงก็ทรงปฏิบัติพิธีกรรมร่วมกับสานุศิษย์ของอาจารย์มั่น เช่น ปลุกเสกเครื่องรางของขลังรุ่นพระราชทาน วัตรปฏิบัติเหล่านี้หนุนเสริมบารมีของพระองค์ในฐานะทรงบุกเบิกในการแสวงหาความรู้ทางจิตวิญญาณและการปฏิบัติ เมื่อคนในแวดวงของราชสำนัก

ชนชั้นนำทางสังคมและการเมืองได้รับรู้การสมาทานธรรมสายอาจารย์มั่นของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ต่างก็พากันแห่ไปศึกษากับสานุศิษย์ของสายพระอาจารย์มั่น เช่น :



หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์






หลวงปู่แหวน สุจิณ โณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่



หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัว ลำภู






หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี







หลวงพ่อเกษม เขมโก
สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง






หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
(พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง อำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานี เจ้าของพุทธทำนาย



หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอ ศรี เชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย







หลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย








หลวงปู่สิม พุทธจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่







หลวงปู่โต๊ะ
วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพ







หลวงปู่ผาง
วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น










หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย





หลวงพ่อพุธ ฐานิโยวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัด นคร ราชสีมา





หลวงปู่คำ
วัดหนองสะแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์



พ่อท่านคล้าย
ฉายา วาจาศักดิ์สิทธิ์ หรือ เทวดาเมืองคอน
วัดสวนขัน กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัด นครศรี ธรรมราช




หลวงพ่ออุตตม หรือเทพเจ้าของชาวมอญ วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี



พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
หรือครูบาวงศ์
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน






ครูบาพรหมา
วัดพระ พุทธบาท ตากผ้า อำเภอ ป่าซาง จังหวัด ลำพูน






หลวงปู่คำพันธ์
วัดธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม







หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์
) วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่





หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี








หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
วัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา








กล่าวกันว่า ในหลวงภูมิพลทรงไปไกลกว่านั้นอีก คือเมื่อทรงศึกษาภูมิธรรม มีประสบการณ์ในพุทธแบบไทยจนถ้วนทั่วแล้ว มีรายงานว่าสมเด็จพระญาณสังวรณ์ ได้เชื้อเชิญพระลามะทิเบต ผู้ฝึกสอนสมาธิแบบตันตริก หรือตันตระที่ลึกล้ำยิ่งของวัชรยาน


ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติพิเศษสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น มีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกว่า วัชระ และลัทธิวัชรยาน แพร่หลายในธิเบต ประสบการณ์แบบนี้ช่างแสนจะพิสดารและอยู่พ้นวิสัยโดยสิ้นเชิงสำหรับคนไทยเกือบทั้งหมด


เรียกได้ว่าเป็น
ของนำเข้าจากนอกคือจากทิเบตโดยตรง จึงแสดงถึงภาวะทางจิตวิญญาณของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอยู่ในระดับที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ คนวงในเข้าใจและกระซิบกระซาบกันว่า ในหลวงภูมิพลนั้นถึงกับทรงเป็นผู้ที่รุดล้ำหน้าทางจิตวิญญาณมากที่สุดแล้วในราชอาณาจักร คือน่าจะทรงไปไกลกว่าพระอรหันต์ หรือเกินกว่าพระพุทธเจ้าแล้ว



เนื่องจากว่าการบรรลุฌานสมาบัติทางจิตวิญญาณของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลนั้นไม่อาจประกาศได้อย่างโจ่งแจ้งเพราะจะเป็นการประเจิดประเจ้อ หรือโอ้อวดมากไปหน่อย ทางวังจึงต้องจัดการเพิ่มระดับความเข้มข้นของพิธีกรรม เพื่อเป็นนัยบ่งชี้ว่าในหลวงของไทยนั้นท่านทรงบรรลุธรรมขั้นสูงสุดยอดแล้ว เรื่องนี้ได้ดำเนินการทันทีหลังจากจอมพลสฤษดิ์เถลิงอำนาจในปี 2500

ที่เห็นชัดที่สุด คือการฟื้นพิธีแห่เรือสำหรับกฐินหลวงประจำปี ยังวัดอรุณทั้งในปี 2502 และ 2504 เนื่องจากพระราชพิธีอลังการนี้ถูกว่างเว้นไปนานถึง 25 ปี มีคนไทยน้อยคนนักที่จะเคยได้เห็นขบวนเรือหลากสีสันพรรณรายประดับทองและตกแต่งด้วยสัตว์ในตำนาน ฝีพายแต่ละลำเปล่งเสียงเห่กาพย์สรรเสริญธรรมราชา ขบวนเรือนี้แสดงถึงความมั่งคั่ง รุ่งเรืองและพระบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์

การประกาศให้วันพระราชสมภพของในหลวงภูมิพลเป็นวันหยุดประจำชาติ หรือวันเฉลิม พระชนม พรรษาในช่วงเวลาเดียวกัน ได้เอื้อต่อการจัดการชุมนุมมวลชนเพื่อเทิดทูนพระองค์ในด้านศาสนา ด้วยการทำบุญและจุดเทียน งานนี้ถูกขยายใหญ่โตขึ้นมากในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบสามรอบหรือ 36 พรรษาในปี 2506

พิธีพราหมณ์ที่ประกอบในงานนี้แทบไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน และไม่เคยมีการปฏิบัติอย่างนั้นอีกเลย เริ่มต้นด้วยในหลวงภูมิพลทรงทำบุญตักบาตร และทรงสวดมนต์ให้กับราชตระกูล ตามด้วยการสรงน้ำในที่สาธารณะเพื่อชำระล้างจิตใจ โดยมีพราหมณ์ และราชวงศ์ชั้นสูงเข้าร่วม

จากนั้นพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงแต่งองค์ทรงเครื่องเต็มยศสวมพระมาลาปีกคล้ายหมวกคาวบอยประดับอัญมณี ที่ขาดไม่ได้คือแว่นตาดำ ทรงถูกหามบนเสลี่ยงหรือพระราชอาสน์ แห่ไปบนท้องถนนของกรุงเทพฯ

อีกวิธีหนึ่งในการเสนอความสูงส่งล้ำเลิศของพระเจ้าอยู่หัว คือการสร้างรูปบูชาศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกโยงกับพระองค์ (แบบเดียวกับพวกกษัตริย์ขอมโบราณ) ที่นิยมกันมาก คือพระเครื่องขนาดเล็ก ในการเสด็จเยือนวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในหลวงภูมิพลจะทรงร่วมประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปและพระเครื่องเป็นประจำ กลายเป็นรุ่นที่นักสะสมแสวงหา



ปี 2508 ทรงเริ่มผลิตรูปบูชาของพระองค์เอง รุ่นแรกเป็นรูปบรอนซ์หรือทองสัมฤทธิ์ สูง 32 เซนติเมตรโดยลอกแบบมาจากพระพุทธรูป ภปร.ที่ที่สร้างโดยวัดเทวสังฆารามในจังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นวัดเดิมของสมเด็จพระญาณสังวรณ์ ทำตรา ภปร.เป็นสีทอง เหนือตรามีฉัพพรรณรังสีซึ่งปกติจะประทับเหนือพระเกศของพระพุทธเจ้าอันหมายถึงปัญญาและความบริสุทธิ์


มีการจารึกถ้อยคำภาษาบาลีและไทยว่า “
คนชาติไทยจะรักษาความเป็นไทอยู่ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี ” พระพุทธรูปนี้กลายเป็นพระพุทธรูปประจำรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เพื่อให้คนไทยได้มีไว้สักการะบูชา





ปี 2509 ในหลวงทรงสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดเล็กลงมาหน่อย ปางมารวิชัย เรียกชื่อรุ่นว่า
พุทธนวราชบพิตร หรือ “ พระพุทธเจ้าแห่งรัชกาลที่เก้า ” บ่งบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเป็นพุทธกษัตริย์ผู้ปราบมาร ตรงฐานบรรจุพระเครื่องที่ทรงออกแบบและปั้นด้วยพระองค์เอง



ในปี 2508 เอกสารราชการบรรยายว่า ในหลวงภูมิพลทรงใช้ “ ผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ” มาทำพระพิมพ์นี้

ที่เรียกว่ามวลสารพระราชทาน เช่น ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัยที่พระองค์ทรงใช้บูชาพระแก้วมรกต เส้นพระเกศาของพระองค์เองที่ตัดโดยพราหมณ์ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนเศวตฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพของพระองค์เอง ชันและสีซึ่งขูดจากเรือใบที่ทรงต่อเอง

ส่วนผสมเหล่านี้ถูกผสม และพิมพ์ขึ้นเป็นพระเครื่องขนาดเล็ก แล้วแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพาร ข้าราชการและนายทหารชั้นสูง ซึ่งได้รับการกำชับให้เอาทองเปลวปิดที่ด้านหลังของพระเครื่อง เพื่อปลูกฝังให้ประกอบคุณงามความดีโดยไม่หวังแก่ลาภยศสรรเสริญทำนองคติโบราญที่ว่า “ ปิดทองหลังพระ ” คือให้คนทั้งหลายทำความดีแบบเงียบๆ ไม่ต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์แข่งบารมีกับพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นที่ไม่สบายพระทัยเปล่าๆ แถมยังมีใบลำดับพระ มีคนตั้งราคาไว้ถึงองค์ละห้าแสนบาท แต่ปัจจุบันคงหาคนซื้อยากแล้ว เพราะคนเริ่มรู้ความจริงของในหลวงภูมิพลมากขึ้น

พระเครื่องของในหลวงภูมิพลนี้เป็นพระพุทธรูปพิมพ์รุ่นเดียว ที่เคยสร้างมาในเมืองไทย โดยมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้สร้าง แต่ไม่ได้มีพิธีพุทธาภิเษกใดๆ ได้พุ่งขึ้นสู่ความนิยมอย่างรวดเร็ว มีชื่อเรียกว่า พระพิมพ์จิตรลดา หรือพระสมเด็จจิตรลดา หรือหลวงพ่อจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงมีความพยายามที่จะเป็นพระเจ้า ที่อยู่บนหัวของราษฎรจริงๆ ทรงทำทุกอย่างทุกวิถีทางเพื่อปลูกฝังความคิดความเชื่อความงมงายสารพัด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นความศรัทธา คล้ายกับเจ้าลัทธิที่มุ่งบังคับกะเกณฑ์ให้ประชาชนไทยทุกคนทุกเพศทุกวัย ต้องเป็นสาวกของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

.......

ไม่มีความคิดเห็น: